shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เอสพีซีจีรับรางวัลนักธุรกิจหญิงแห่งปี

น.ส.วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตนได้เข้ารับรางวัล ผู้ประกอบการหญิงแห่งปี 2556 หรือ “Woman Entrepreneur of the Year Award 2013” ในงาน Asia Pacific Entrepreneurship Award 2013 จัดโดย Entreprise Asia โดยมี ยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ เป็นผู้มอบ ณ โรงแรมแชงกลี-ลา กรุงเทพฯสำหรับรางวัลดังกล่าว Entreprise Asia ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเซีย ที่ประสบความสำเร็จให้รับรางวัล ได้มีกำลังใจในการทำงาน และถือเป็นรางวัลที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ในการคัดสรรนักธุรกิจผู้บุกเบิก พัฒนา รูปแบบธุรกิจใหม่ ที่ประสบความสำเร็จ จนเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาค ทั้งนี้ การมอบรางวัลจะพิจารณาจากผลงานที่ทำแล้ว ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนที่มีความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล มีความยั่งยืน ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมในภูมิภาค สำหรับรางวัลผู้ประกอบการหญิงแห่งนี้ คณะกรรมการจะคัดเลือกผู้นำทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ประเทศละ 1 คนในแต่ละปี โดยครอบคลุมประเทศต่างๆคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม ไทย อินเดีย และจีน”ต้องขอขอบคุณที่ Entreprise Asia ได้เห็นความสำคัญของนักธุรกิจไทย รางวัลนี้จะเป็นกำลังใจให้มุ่งมั่นทำงานหนักต่อไป ทั้งนี้สิ่งที่มุ่งมั่นทำมาด้วยความยากลำบาก ก็สามารถพิสูจน์ให้คนเห็นว่า เราทำได้ และผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายไปได้ระดับหนึ่ง จนทำให้คนเชื่อถือโครงการโซล่าร์ฟาร์ม” น.ส.วันดีกล่าวว่า ตอนเริ่มทำโครงการโลล่าฟาร์มในปี 2553 เมื่อพูดเรื่องนี้ แทบจะไม่มีคนรู้จักเลย แต่วันนี้ปี 2556 ไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้น ที่รู้จักโซล่าร์ฟาร์ม แต่ประเทศในประชาคมอาเซียน ก็รู้จักโซล่าร์ฟาร์มเป็นวงกว้าง ความสำเร็จนี้เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจ และในวันนี้ก็มีคนอื่น ร่วมภาคภูมิใจกับเราด้วย ทำให้เป็นกำลังใจ มีแรงจะพัฒนาบุกเบิกการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นประโยชน์ ในการผลิตไฟฟ้าในทุกภาคส่วน ในวงกว้างจากชุมชนไปสู่ครัวเรือนอย่างไรก็ตาม จากผลสำเร็จในประเทศไทย เอสพีซีจี จะมีการขยายฐานการผลิตโซล่าฟาร์มไปสู่ประเทศในประชาคมอาเซียน และในอนาคตจะต้องไปสู่นานาชาติให้ได้ เริ่มแรกประเทศเพื่อนบ้านก่อน เอสพีซีจีเราจะขยายไปยังอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ พม่าในเวลาอันใกล้นี้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสพีซีจีรับรางวัลนักธุรกิจหญิงแห่งปี

Posts related

 














เล็งออกกฎหมายคุมธุรกรรมอี-มันนี่

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปริมาณและมูลค่าธุรกรรมเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-มันนี่) ของไทย ส่วนใหญ่มาจากบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นอนแบงก์) มีปริมาณการใช้บริการสูงขึ้น โดยอยู่ในสัดส่วน 99.8% และมีมูลค่าในสัดส่วน 97.7% ของบริการธุรกรรมเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดในไตรมาส 2 ปี 56 มีจำนวน 157 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 11,000 ล้านบาท ดังนั้นหากอนาคตมูลค่าใช้จ่ายธุรกรรมเงินอิเล็กทรอนิกส์ของไทยเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญ ก็อาจต้องทบทวนกฎหมาย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน ซึ่งจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อและกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนได้ “ข้อมูลสถิติในปัจจุบัน แม้ผลกระทบของการใช้อี-มันนี่ ต่อเศรษฐกิจมหภาคของไทย ยังไม่เป็นประเด็นที่ต้องกังวล เนื่องจากมูลค่าใช้จ่ายด้วยอี-มันนี่ยังมีน้อยมาก โดยในปี 55 ที่ผ่านมา การใช้อี-มันนี่ ของไทยมีมูลค่ารวมที่ 35,300 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 0.01% ของมูลค่ารวมธุรกรรมการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินทั้งหมด และคิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.23% ของปริมาณเงินในความหมายกว้าง แต่ในอนาคตหากมูลค่าใช้จ่ายอี-มันนี่ของไทยเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและระดับความเชื่อมั่นของประชาชน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่มีผลต่อเสถียรภาพระดับราคา ก็อาจต้องทบทวนกฎหมาย” ทั้งนี้ การใช้ อี-มันนี่ หากสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสามารถส่งผลกระทบโดยตรงในระดับมหภาคต่อนโยบายการเงินใน 2 ด้าน ทั้งด้านปริมาณเงินและด้านการดูแลเสถียรภาพระดับจะมีผลกระทบต่อระดับราคาสินค้าทั่วไป และผลกระทบต่ออัตราการหมุนเวียนของเงิน ที่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจผ่านอัตราการหมุนเวียนของเงินที่มีมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาในต่างประเทศ การใช้ อี-มันนี่ ผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินอย่างแพร่หลาย ทำให้อัตราการหมุนเวียนของเงินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อการขยายตัวของระดับราคาหรืออัตราเงินเฟ้อได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ธนาคารกลางต้องติดตามและประเมินผลกระทบในเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เล็งออกกฎหมายคุมธุรกรรมอี-มันนี่

เอกชนลดเป้าส่งออกเหลือ 1%

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สภาผู้ส่งออก) เปิดเผยว่า สภาผู้ส่งออกไทยลดเป้าการส่งออกไทยในปี 56 จาก 2.5% เหลือ 1% เนื่องจากตัวเลขการส่งออกรวม 3 ไตรมาสแรกของปี (ม.ค.-ก.ย. 56) มีมูลค่าเพียง 172,139.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพียง 0.05% โดยเฉพาะในเดือน ก.ย. ที่มีมูลค่าเพียง 19,303.7ล้านเหรียญฯ ลดลง 7.09% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก”แนวโน้มแต่ละเดือนจะสามารถทำให้ได้ถึงเป้า19,800-20,000 ล้านเหรียญฯ แต่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน เพราะของเรื่องของสถานการณ์ซัดดาวน์ของสหรัฐฯยังยืดเยื้ออยู่ถึงเดือน ก.พ. ปีหน้า ส่วนเรื่องการเมืองในประเทศไม่น่าจะมีผลต่อการส่งออกในปีแล้ว แต่หากสถานการณ์การทางการเมืองยืดเยื้อหรือรุนแรงมีการปิดสถานที่ใช้ขนส่ง โลจิสติกส์ ก็อาจส่งผลกระทบไปยังการส่งออกของปีหน้าได้”นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกในปี 56 คาดว่าอย่างมากที่สุดคงโตได้มากที่สุดเพียง 1-1.2% เท่านั้น แต่โดยส่วนตัวมองว่าการส่งออกที่ติดลบในช่วงนี้เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจ เนื่องจากในหลายๆประเทศทั่วโลกสถานการณ์การส่งออกก็แย่เช่นเดียวกัน และการที่การส่งออกไทยโตได้ไม่มากก็เป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของคู่ค้าของไทยด้วย แต่อย่างไรก็ตามไทยก็ควรผลักดันการส่งออกพวกชิ้นส่วนไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มยายนต์ให้มาก เพราะสินค้าทั้ง 3 กลุ่มคิดเป็น 40% ของการส่งออก และเชื่อว่าสินค้าในกลุ่มดังกล่าวจะเป็นตัวแปรสำคัญของการส่งออกไทยด้วย ส่วนสินค้าเกษตรก็เชื่อว่าจะค่อยๆผ่อนคลายและดีขึ้นในช่วงปีหน้า”การส่งออกในปีนี้คงคาดการณ์อะไรไม่ได้มากแล้ว หากแต่ละเดือนส่งออกได้ 20,000 ล้านเหรียญฯ ซึ่งจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้มากสุด 1.27% ส่วนในปี 57 ส่งออกน่าจะดีขึ้น เพราะสหรัฐและกลุ่มประเทศยุโรปน่าจะฟื้นตัวได้เรื่อยๆ ส่วนญี่ปุ่นก็น่าจะดีขึ้นเพราะรัฐบาลมีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบแล้วค่อนข้างมาก”นอกจากนี้ยังมองว่า รัฐบาลควรทำตามคำแนะนำของสภาผู้ส่งออกฯที่ได้มัการเสนอให้ทำเรื่องของการปรับโครงสร้างด่านตามชายแดน การทำเขตการค้าฟรีโซน เพื่อจะช่วยเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยผลักดันตัวเลขส่งออกให้มีการขยายตัวด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนลดเป้าส่งออกเหลือ 1%

Page 1483 of 1552:« First« 1480 1481 1482 1483 1484 1485 1486 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file