shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

หวั่นแบงก์พาณิชย์ทำลูกค้าหนี้เพิ่ม

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาคการเงินมีส่วนช่วยภาคครัวเรือนสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน โดยการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งการรับผิดชอบในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความโปร่งใส และไม่จูงใจให้ภาคครัวเรือนขาดวินัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่อาจสร้างความเสียหายกับคนจำนวนมาก และนำไปสู่ความน่าเชื่อถือต่อวินัยทางการเงินของประเทศ “การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่บิดเบือนความเข้าใจผู้ใช้บริการและจูงใจให้กู้ยืม โดยผู้กู้ไม่ได้มีความสามารถในการชำระคืนนั้น อาจนำไปสู่ปัญหาสังคมมากมาย ทั้งการใช้บัตรเครดิตหลายใบและใช้วงเงินทุกใบจนครบโดยไม่ระวังถึงความสามารถในการชำระหนี้ หรือการให้สินเชื่อประเภทที่มีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเช่าซื้อบางประเภท ที่ให้น้ำหนักความสามารถชำระหนี้ในอนาคตน้อยเกินไป อาจสร้างความเสียหายเชิงสังคมที่จับต้องได้ อาทิ การหนีหนี้ การทิ้ง หลักประกันและกลายเป็นหนี้เสีย และสร้างความเสียหายให้กับประเทศ” อย่างไรก็ตาม กรณีของประเทศไทยนั้น บทบาทผู้ให้บริการทางการเงินนอกการกำกับดูแลของ ธปท. อาทิ สถาบันการเงินภาครัฐฯ และ สหกรณ์ มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงเป็นความท้าทายของภาครัฐฯ จะต้องร่วมมือกันขยายขอบเขตการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับภาคครัวเรือนที่ใช้บริการผ่านผู้ให้บริการเหล่านี้อย่างทั่วถึงด้วย โดยการส่งเสริมระบบการประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ การส่งเสริมวินัยทางการเงินของผู้ใช้บริการ และการกำกับดูแลให้บริการด้วยความเป็นธรรม ทั้งนี้ ปัจจุบันภาคการเงินได้เชื่อมโยงกับภาคต่างๆ ที่เป็นตัวกลางจัดสรรทรัพยากรจากผู้ออมไปยังผู้ที่ต้องการใช้เงินทุน ส่งผลให้ทรัพยากรทุนสามารถหมุนเวียนในระบบได้โดยไม่สะดุด แต่ในทางตรงกันข้ามก็เกิดปัญหาที่พบทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น วิกฤติในภาคการเงินที่นำไปสู่การขาดความมั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ และส่งผลไปยังภูมิคุ้มกันของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนอย่างยืดเยื้อ แต่ยืนยันว่าประเทศไทย มีระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีภูมิคุ้มกันระดับที่สูง เงินกองทุนและการกันสำรองอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง รวมทั้ง เพียงพอต่อการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐฯ และภาคธุรกิจไทยทั้งในและต่างประเทศ “ระบบการเงินไทยมีตัวอย่างที่ดีของการให้บริการควบคู่ไปกับการส่งเสริมด้านวินัยการเงิน เช่น มีวินัย จ่ายตรงตามกำหนด ลดดอกเบี้ย ที่นำไปสู่ประโยชน์ร่วมทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ถือเป็นประโยชน์ในแง่ความรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่ากิจกรรมประชาสัมพันธ์ โดยบทบาทของ ธปท.ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน ต้องการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างฉลาดและยั่งยืน”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หวั่นแบงก์พาณิชย์ทำลูกค้าหนี้เพิ่ม

Posts related

 














จี้ศูนย์อาหารลดค่าเช่าพื้นที่

นายสมชาติ สร้อยทอง อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯได้ขอความร่วมมือให้ห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ปรับลดค่าเช่าพื้นที่ในส่วนของศูนย์อาหารหรือฟู้ดคอร์ท เพื่อให้ร้านอาหารจานด่วนหรือร้านขายข้าวแกงสามารถตรึงราคาอาหาร ช่วยเหลือผู้บริโภคไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบค่าครองชีพที่สูงขึ้น เบื้องต้นห้างฯหลายรายเริ่มให้ความร่วมมือกับแนวทางดังกล่าว เพราะหากราคาอาหารปรับตัวสูงก็จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการซื้อสินค้าด้วย “ได้ทยอยคุยกับห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกแต่ละแห่ง ก็ได้รับการตอบรับที่ดีในการปรับลดราคาค่าเช่าเฉพาะบริเวณศูนย์อาหาร หรือห้างฯรายใดเตรียมที่จะปรับขึ้นราคาค่าเช่าก็ให้ความร่วมมือโดยการตรึงราคาค่าเช่าไว้ก่อนสักระยะหนึ่งจากนั้นจึงค่อยมาพิจารณาใหม่” ทั้งนี้นอกจากห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกแล้วกรมการค้าภายในก็จะทยอยขอความร่วมมือแหล่งอื่นๆในการลดค่าเช่าหรือตรึงราคาค่าเช่าในส่วนของโรงอาหารหรือศูนย์อาหารหลังจากก่อนหน้านี้ได้ขอความร่วมมือให้ร้านอาหารธงฟ้าตรึงราคาอาหารจานด่วนและข้าวราดแกงมาแล้ว ส่งผลให้ร้านอาหารจำนวนมากไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้าแม้ว่าราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นเดือนละ 50 สต.ต่อกก.ก็ตาม สำหรับในส่วนของร้านอาหารธงฟ้านั้นกรมฯจะหาแนวทางในการลดต้นทุน โดยได้จัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกับตลาดสด 6 แห่ง เพื่อจำหน่ายวัตถุดิบ เช่น เนื้อหมู, เนื้อไก่, ไข่ไก่, ผักสด และเครื่องปรุงรสที่ใช้ในการประกอบการทำอาหารปรุงสำเร็จ(จานด่วน) ในราคาถูกกว่าท้องตลาด หรือเป็นราคาขายส่งให้กับร้านอาหารธงฟ้าที่ซื้อสินค้าในตลาดสดที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งร้านในตลาดสดที่เข้าร่วมโครงการจะติดป้าย “โลว์ไพร์” ไว้หน้าร้าน ส่วนร้านอาหารธงฟ้าจะได้รับบัตรจัดซื้อ เพื่อแสดงตัวในการซื้อวัตถุดิบราคาถูก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จี้ศูนย์อาหารลดค่าเช่าพื้นที่

เอกชนถอดใจเศรษฐกิจไทยติดรองบ๊วยหลังเปิดเออีซี

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีหลายหน่วยงานประเมินอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียนหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 58 โดยลาว จะมีเศรษฐกิจขยายตัวสูงเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นกัมพูชา, พม่า, อินโดนีเซีย, เวียดนาม,ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, บรูไน, ไทย และ สิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์และไทยมีขนาดเศรษฐกิจไทยที่ใหญ่ ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง ๆ นั้น ทำได้ลำบาก ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจลาว, กัมพูชา, พม่า ขยายตัวในระดับสูงหลังการเปิดเออีซี เนื่องจากจะมีทุนข้ามชาติเข้ามาตั้งโรงงานมากขึ้น ทั้งนักลงทุนจากไทย ยุโรป สหรัฐ และเอเชีย เพื่อต้องการอาศัยต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง โดยเฉพาะเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าเช่าพื้นที่โรงงาน และมีปริมาณแรงงานที่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน ขณะเดียวกันผลพวงจากการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทยมากขึ้นก็จะทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่ม ประเมินเศรษฐกิจในประเทศอาเซียนจะสอดคล้องกับตัวเลขของไอเอ็มเอฟ ที่ประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศภูมิภาคอาเซียน หลังการเปิดเออีซีระหว่างปี 59-63 คือ 1.ลาว ขยายตัวเฉลี่ย7.7% ต่อปี, 2. กัมพูชา 7.5%, 3.พม่า 6.9%, 4. อินโดนีเซีย 6.5%, 5.เวียดนาม 5.5%, 6.ฟิลิปปินส์ 5.5%, 7.มาเลเซีย 5.2%, 8. บรูไน 4.8% , 9. ไทย 4.7% และ 10. สิงคโปร์ 4% ส่วนก่อนการเปิดเออีซีตั้งแต่ปี 44-58 พบว่าพม่ามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากสุดเฉลี่ย 9% รองลงมาเป็น กัมพูชา 7.7%, ลาว 7.4%, เวียดนาม 6.6%, อินโดนีเซีย 5.6%, สิงคโปร์ 5%, ฟิลิปปินส์ 5%, มาเลเซีย 4.8%, ไทย 4.3% และ บรูไน 2.1% “ลาวมีประชากรน้อยและในอนาคตเชื่อว่าภาคบริการและเกษตรกรรมจะเป็นกลุ่มที่จะสร้างรายได้ให้กับประชากรได้ดี ส่วนกัมพูชาและพม่า เชื่อว่า ภาคอุตสาหกรรมจะโดดเด่นทั้งสองประเทศ เพราะปัจจุบันมีแรงงานที่เพียงพอต่อความต้องการของนักลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องนุ่งห่มของไทยจำนวนมากที่ได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่กัมพูชาเพื่อลดต้นทุนจากค่าจ้างบ้านเราที่สูงมากหากเทียบกับเพื่อนบ้าน” นายอัทธ์ กล่าวว่า ในส่วนของไทย หากจะผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวระดับสูง ก็จะเน้นอานิสงส์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เพราะหากเสร็จจะทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของนักท่องเที่ยวมีความสะดวกก็จะทำให้จีดีพีขยายตัวเพิ่มได้ดี ขณะเดียว จำเป็นต้องส่งเสริมการลงทุนการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนแรงงานที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม และต้องส่งเสริมการพัฒนาการดีไซน์ของสินค้าเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น “ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทย หลังเปิดเออีซีคงหนีไม่พ้นเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูง ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจไทยน้อยลง ซึ่งหากเพื่อนบ้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ใกล้เคียงกับไทยอาจทำให้เงินลงทุนต่างชาติไหลไปเพื่อนบ้านได้ อย่างไรก็ตามหากโครงการ 2 ล้านล้านบาทดำเนินการผ่านแบบฉลุยก็จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยในอนาคตโตเพิ่มได้มาก”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนถอดใจเศรษฐกิจไทยติดรองบ๊วยหลังเปิดเออีซี

Page 1510 of 1552:« First« 1507 1508 1509 1510 1511 1512 1513 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file