shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เมื่อระบบสื่อสารไทยล่ม กระทบคนทั่วโลก ?

กลายเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อมีผู้ไม่หวังดีเข้าไปตัดกระแสไฟฟ้าโดยเน้นทั้งกระแสไฟฟ้าหลักและสำรอง ที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เขตบางรัก และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขตแจ้งวัฒนะ  เป็นเหตุให้ระบบการทำงานในอาคารของ กสท ทั้งหมดต้องหยุดลง ส่งผลให้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมไม่สามารถให้บริการได้ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ขยายเป็นวงกว้างไม่ใช่เฉพาะลูกค้าของ กสท ในประเทศไทยเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงลูกค้า กสท ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างประเทศด้วยเช่นกัน นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่า กสท ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงสามารถกู้ระบบและเริ่มทยอยให้บริการลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ อาทิ แบงก์ และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในเชิงธุรกิจก่อน ด้วยการประสานงานไปยังการไฟฟ้านครหลวงเพื่อช่วยแก้ไขระบบไฟฟ้าให้เป็นปกติ ถึงเช้าวันที่ 1 ธ.ค. จึงสามารถให้บริการลูกค้าจำนวน 9.2 หมื่นราย ได้ครบทั้งหมด นักวิศวกรคอมพิวเตอร์ กสท เล่าว่า การให้บริการกลุ่มลูกค้าโดยใช้ระบบควบคุม กสท บางรัก (CAT THIX) สำหรับกลุ่มลูกค้าไอเอสพีเพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ โดยผ่านวงจรเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของแคท เทเลคอมไปยังผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบทวีปยุโรป และประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ด้วยเส้นทางที่หลากหลาย และปริมาณแบนด์วิธขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ การเชื่อมต่อโครงข่ายแบ่งออกเป็น 2 แบบ ประกอบด้วย 1. แทรนซิท อินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก เชื่อมกับ อินเทอร์เน็ต แบ๊กโบน แลกเปลี่ยนข้อมูลกับปลายทางในทวีปต่าง ๆ ได้แก่ อเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก โดยมีความเร็วรวมมากกว่า 10 จีบีพีเอส เพื่อใช้เป็นเส้นทางผ่านไปยังเครือข่ายปลายทางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 2. เพียร์ ทู เพียร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก เชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์เชนจ์ ของประเทศต่าง ๆ โดยตรง ด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุด เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลท้องถิ่นของประเทศไทย กับข้อมูลท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ โดยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศเชื่อมต่อแบบเพียริ่ง มากกว่า 25 รายทั่วโลก รวมทั้งผู้ให้บริการคอนเทนต์ชั้นนำต่าง ๆ เช่น กูเกิลไมโครซอฟต์ด้วย “เหตุการณ์ดังกล่าวเนื่องจากระบบไฟสำรองถูกทำลาย แต่จริง ๆ แล้ว กสท มีระบบเจนเนอเรเตอร์ 2 เท่า โดยหากไฟดับปกติ เจนเนอเรเตอร์สำรองจะสตาร์ตและทำงานได้ปกติ แต่กรณีดังกล่าว ระบบเจนเนอเรเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ เพราะสมองเจนเนอเรเตอร์ถูกทำลาย ทุกอย่างจึงหยุดลงไปด้วย” ด้าน นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีโอที ระบุว่า การที่ระบบไฟฟ้าของทีโอทีถูกตัดลงนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกค้าที่ใช้อินเทอร์เน็ตของทีโอที ประมาณ 7.5 แสนราย โดยหากคิดเป็นมูลค่าของค่าปรับแล้วจะอยู่ที่ตัวเลขหลักล้านเพียงหลักเดียว เพราะลูกค้าส่วนมากเข้าใจ อีกทั้งระยะเวลาที่ไม่สามารถให้บริการได้อยู่ที่ประมาณ 2 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น นับระยะเวลาไม่ถึง 1 วัน (24 ชั่วโมง) กสท ประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 300 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของค่าปรับที่ไม่สามารถให้บริการลูกค้าทั้งระบบร่วม 1 แสนรายได้ ซึ่งหากมองโลกในแง่ร้าย หากสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้น และไม่สามารถให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีมูลค่าพุ่งถึงเท่าไหร่   ผลกระทบคงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้ง นักธุรกิจ นักการเมือง ประชาชนทั่วไป ผู้ร่วมชุมนุม หรือแม้แต่ผู้ที่ก่อเหตุในครั้งนี้เอง.  กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เมื่อระบบสื่อสารไทยล่ม กระทบคนทั่วโลก ?

Posts related

 














การตลาดเชิงเทคโนโลยีแห่งอนาคต – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะยอมรับว่าทุกวันนี้พฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้คนมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตค่อนข้างมาก ด้วยเหตุที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คน จากที่เราต้องรอพึ่งแต่สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์เท่านั้น ก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็นการเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่ออื่น ๆ ที่เราเข้าถึงและจัดการได้ด้วยตนเองอย่างมือถือ แท็บเล็ต หรือแม้แต่การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกกันว่า โซเชียล มีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม หรือแม้แต่โปรแกรมไลน์   แม้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีทั้งคนที่ชอบและคนที่ไม่ชอบ แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา ถึงขนาดมีคนวิเคราะห์สถิติเอาไว้ในนิตยสารต่างประเทศ ฟาสต์ คอมปานี ว่าปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นกิจกรรมทางเว็บยอดนิยมมากที่สุด แซงหน้ากิจกรรมอื่น ๆ ทั้งหมด แม้กระทั่งกิจกรรมการดูหนังหรือรูปอนาจารเสียอีก ซึ่งตัวเลขตรงนี้น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะสำหรับคนที่คิดจะทำการตลาดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเอง หรือแม้แต่แผนการตลาดขององค์กรของตัวเอง ว่าจะหวังเพียงใช้แต่เว็บไซต์หรือการตลาดแบบเก่า ๆ เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องรู้จักบูรณาการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูล Thailand Top 10 Salary 2014 ของอเด็คโก้ ว่าตำแหน่งเกี่ยวกับ ดิจิทัล มาร์เกตติ้ง  มาแรงทีเดียว  หรืออย่างสถิติตัวเลขผู้ใช้งานเฟซบุ๊กทั่วโลกที่ปัจจุบันมีคนใช้เกินพันล้านคนไปแล้ว โดยสิ่งที่น่าสนใจคือในตัวเลขผู้ใช้เฟซบุ๊กนี้ มีถึง 189 ล้านคนที่ใช้เฟซบุ๊ก บนมือถือเพียงอย่างเดียว หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า โมบาย โอนลี และถ้ามองลึกลงไปถึงรายได้จากการโฆษณาที่ทางเฟซบุ๊กได้รับ จะเห็นว่ากว่า 30% มาจากทางมือถือ ซึ่งนี่ถือเป็นตัวเลขที่สูงทีเดียวครับ และผมก็เชื่อว่าตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในอนาคต เพราะฉะนั้นถ้าเราคิดจะวางแผนการตลาดให้ผลิตภัณฑ์ของเรา ก็ไม่ควรที่จะละเลยกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือยุคนี้สมัยนี้เราจำเป็นที่จะต้องพยายามขยายกรอบความคิดของเราให้ก้าวข้ามกรอบของคอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะไปให้ได้ ซึ่งการจะก้าวข้ามคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะให้ได้นั้นอาจรวมไปถึงการพยายามออกแบบการนำเสนอข้อมูลที่ต้องพอดีกับหน้าจอขนาดเล็กของมือถือ หรือแม้แต่การออกแบบให้เนื้อหาของเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยความเร็วของ 3จี หรือ 4จี ที่คนใช้มือถือในประเทศนั้น ๆ นิยมใช้กัน เป็นต้น อีกหนึ่งตัวเลขสถิติที่น่าสนใจก็คือ 93 % ของนักการตลาด ได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับธุรกิจของตัวเองไปเรียบร้อยแล้วครับ เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นนักการตลาดและยังไม่เคยคิดที่จะเอาเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้าไปช่วยในแผนการตลาดของคุณ ก็ต้องบอกว่าตอนนี้คุณคือคนส่วนน้อย 7 ใน 100 คนเท่านั้นที่ยังมีแนวความคิดแบบนี้ เพราะฉะนั้นอาจจะต้องเปลี่ยนมุมมองบ้าง เพื่อที่จะนำเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ แม้ว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์จะดูมาแรงในการทำแผนการตลาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพียงอย่างเดียวนะครับ เราสามารถนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านอื่น ๆ เข้าไปบูรณาการ เป็นแนวการตลาดแบบใหม่ได้ ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การสร้างป้ายโฆษณาแบบใหม่ ซึ่งได้เอามาใช้ในสายการบินที่ผมเพิ่งไปใช้บริการมาหมาด ๆ นั่นก็คือ บริติช แอร์เวย์ โดยเขาใช้ป้ายโฆษณาดิจิทัลที่สามารถตอบโต้กับเครื่องบินจริง ๆ ที่บินผ่านเพื่อดึงดูดความสนใจของคน เรียกว่าไม่ใช่ป้ายที่โฆษณาเป็นกราฟิกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกอัดเอาไว้แล้วเอามาฉายซ้ำทั่ว ๆ ไป แต่สามารถมีการตอบสนองหรือที่เรียกว่า อินเตอร์แอ๊คชั่น กับเครื่องบินที่บินอยู่บนท้องฟ้าได้จริง ๆ โดยการทำป้ายโฆษณาแบบใหม่นี้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Surveillance Technology มาเชื่อมต่อกับตารางการบิน หลังจากนั้นระบบจะทำการบันทึกและวิเคราะห์ว่าเครื่องบินจะบินผ่านป้ายในเวลาใด ซึ่งทันทีที่เครื่องบินบินผ่าน ป้ายก็จะปรากฏเป็นภาพเด็กที่เคลื่อนไหวพร้อมทั้งชี้มือไปยังเครื่องบินที่กำลังบินผ่านได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถแสดงรายละเอียดของเครื่องบินลำนั้นได้ ว่าหมายเลขเที่ยวบินอะไร ออกเดินทางมาจากเมืองอะไร หรือกำลังจะบินไปที่ไหน เป็นต้น การใช้ป้ายโฆษณาแบบใหม่นี้ ถือเป็นครั้งแรกในวงการโฆษณาของอังกฤษเลยทีเดียวครับ ซึ่งถ้าพูดในเชิงเทคนิคแล้วก็ไม่ได้ทำยากจนเกินไป แต่ความยากจริง ๆ น่าจะอยู่ที่ไอเดีย ความคิด จินตนาการที่จะเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วไปบูรณาการกับเทคโนโลยีปัจจุบัน เพื่อก้าวข้ามกรอบความคิดแบบเดิม ๆ แล้วสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาให้ได้อย่างไร เท่านั้นเองครับ. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การตลาดเชิงเทคโนโลยีแห่งอนาคต – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

เรียงร้อยถ้อยคำถวายพระพรผ่าน ‘iPost-a-Card’ – App/แอพ

เนื่องในเดือนนี้เป็นเดือนมหามงคลของคนไทยทุกคน ทางบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท)  จึงได้ร่วมกับ บริษัท โค้ดเกียร์ส จำกัด จัดโครงการ “ทุกถ้อยคำจากใจ…ถวายในหลวง” เชิญชวนพสกนิกรทุกหมู่เหล่าส่งไปรษณียบัตรถวายพระพรผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยแอพพลิเคชั่นไอโพสต์ อะ การ์ด( iPost-a-Card) โดยข้อความถวายพระพรที่พิมพ์ผ่านแอพพลิเคชั่นดังกล่าว ทาง ปณท จะทำการรวบรวมเพื่อนำไปพิมพ์ลงบนไปรษณียบัตรจริง แล้วทำการรวบรวมเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา ต่อไป นางปริษา ปานะนนท์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา 5 ธันวาคมปีนี้  ทางไปรษณีย์ไทยเปิดโอกาสให้คนไทยในยุคไอทีได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีด้วยการถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น โดยการพิมพ์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น “iPost-a-Card” ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งในระบบปฏิบัติการไอโอเอสของแอปเปิล ผ่านแอพ สโตร์  และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ของกูเกิล ผ่าน กูเกิล เพลย์ สโตร์  ซึ่งเมื่อดาวน์โหลดลงเครื่องแล้วให้กดเข้าไปในกิจกรรมที่ชื่อ “ทุกถ้อยคำจากใจ…ถวายในหลวง” บนแอพพลิเคชั่นดังกล่าวก็สามารถพิมพ์ข้อความถวายพระพรได้ทันที “กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ไปรษณีย์ไทย กับบริษัท โค้ดเกียร์ส จำกัดพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมทำแอพนี้ขึ้นมา โดยทุกข้อความถวายพระพร จะมีการ นำไปพิมพ์ลงบนไปรษณียบัตรแต่ละใบ ก่อนรวบรวมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป โดยจะเปิดรับข้อความถวายพระพรถึง 31 ธันวาคม 2556 นี้” แอพพลิเคชั่นไอโพสต์ อะ การ์ด รองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งนอกจากจะใช้พิมพ์ข้อความถวายพระพรในโครงการ “ทุกถ้อยคำจากใจ…ถวายในหลวง” แล้ว ทางผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานในฟีเจอร์อื่น ๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะการบันทึกภาพที่ประทับใจของตนเองเพื่อพิมพ์เป็นโปสการ์ดจริงพร้อมผนึกแสตมป์ และส่งไปยังผู้รับปลายทางได้ทั่วไทยและทั่วโลกได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บันทึกคลิปวิดีโอทั้งภาพเละเสียงความยาว 15 วินาทีแนบไปในรูปแบบ คิวอาร์ โค้ด (QR Code) บนโปสการ์ดเพื่อให้ผู้รับสแกนดูได้เสมือนหนึ่งเป็นโปสการ์ดมีชีวิตได้อีกด้วย ถือเป็นหนึ่งในบริการยุคดิจิทัลของ ปณท  ซึ่งวิธีใช้งานก็ง่าย ๆ เพียงเลือกรูปภาพจากคาเมร่า โรส หรือถ่ายรูปใหม่ก็ได้ แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป และหากต้องการแนบคลิปวิดีโอด้วย ก็ให้ถ่ายวิดีโอความยาว 15 วินาที แนบไปกับโปสการ์ด  ด้วยคิวอาร์ โค้ด อย่างไรก็ตามบริการนี้จะมีค่าบริการ โดยราคาส่งโปสการ์ดในประเทศคิดเริ่มต้นเพียงใบละ 42 บาท ส่วนต่างประเทศเริ่มต้นเพียงใบละ 55 บาท และทาง ปณท ยังรับประกันว่าโปสการ์ดที่ส่งจะไม่ตกหล่นด้วยมาตรฐานการรับประกันของไปรษณีย์ไทย ด้วย คลิกเข้าดูรายละเอียดกันได้ที่ www.thailandpost.co.th และ www.facebook.com/iPostcard

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เรียงร้อยถ้อยคำถวายพระพรผ่าน ‘iPost-a-Card’ – App/แอพ

Page 669 of 805:« First« 666 667 668 669 670 671 672 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file