shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เล็งพลิกโฉมสถานีรถไฟทั่วประเทศ

“ชัชชาติ” สั่งรฟท.พลิกโฉมสถานีรถไฟทั่วประเทศ นำร่องหัวลำโพงโฉมใหม่ ฟื้นบูทิคโฮเต็ล พร้อมขยายไป นครปฐม เชียงใหม่ ด้าน ผู้ว่า รฟท. ขอขึ้น ขีดเส้น ปตท. 31 ธ.ค.56 ไม่จ่ายก็ย้ายออก
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยได้ประชุมกับศูนย์การสร้างสรรค์งานออกแบบ (ทีซีดีซี ) ว่า ได้มีการศึกษาออกแบบโครงการพัฒนาการบริการขั้นพื้นฐานของสถานีหัวลำโพงในรูปโฉมใหม่ โดยจะเน้นการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกการให้บริการขั้นพื้นฐานให้ทันสมัยอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร และสร้างผลตอบแทนรายได้ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งหลังจากนี้จะทยอยปรับปรุงสถานีรถไฟแห่งให้มีเอกลักษณ์และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับตัวอย่างการปรับสถานีรถไฟหัวลำโพง เช่น จะรื้อฟื้นโรงแรมภายในสถานีรถไฟหัวลำโพงเดิมซึ่งใช้เป็นอาคารสำนักงาน เพื่อปรับปรุงให้เป็นบูทิคโฮเต็ลในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงพื้นที่อื่น เช่น การปรับปรุงห้องน้ำ ชานชาลา ป้ายบอกทาง เก้าอี้ จุดเชื่อมต่อรถสามล้อ แท็กซี่ ให้สะดวกเพิ่มแต่ขณะเดียวกันจะต้องคงวิถีชีวิตดั้งเดิมความเป็นไทยไว้ เช่นเดียวกับสถานีรถไฟนครปฐมและเชียงใหม่จะมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสถานีรถไฟด้วย “หลังจากนี้มอบหมายให้นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)นำข้อมูลจากผลการศึกษาของทีซีดีซีไปปรับปรุงรูปแบบของสถานีรถไฟต่างๆ โดยเริ่มจากสถานีหัวลำโพงเป็นต้นแบบและขยายไปยังสถานีแห่งอื่น ที่สำคัญแต่ละสถานีต้องคงเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละพื้นที่ คาดภายใน 6 เดือนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานและดึงดูดกลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการอยู่เดิมผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการในอนาคตด้วย”
นายชัชชาติกล่าวว่า สถานีรถไฟแต่ละแห่งอาจต้องใช้เวลาในการปรับปรุงสักระยะหนึ่ง เพราะเป็นการปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้น แต่จะเน้นปรับปรุงสถานีใหญ่ๆ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวด้วย แต่ละแห่งจะต้องสร้างเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เช่น สถานีหัวหิน อาจนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาปรับให้เข้ากับการใช้บริการของสถานีได้ และอาจจะต้องมีการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมให้ใกล้เคียงและสอดคล้องกับสถานีด้วย ส่วนปัญหาการเช่าที่ดินสำนักงานใหญ่ ปตท. ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับ รฟท.เจ้าของพื้นที่นั้น จะให้เวลาผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงานเจรจาตกลงกันก่อน แต่ในระดับนโยบายวันที่ 18 ต.ค.นี้ ตนจะได้มีโอกาสในการหารือกับนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานในเรื่องนี้ด้วย โดยที่ผ่านมาถือว่านายประภัสร์ ผู้ว่า รฟท. ได้ทำหน้าที่ในการปกป้องรักษาผลประโยชน์ขอ รฟท. อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน ปตท.ก็ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานเช่นกัน แต่ละฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเอง แต่เชื่อว่าเรื่องนี้จะคุยกันได้ ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า จะให้เวลา ปตท.ตัดสินใจเรื่องการต่อสัญญาเช่าที่ดินเงื่อนไขใหม่ 30 ปี เงิน 1,792 ล้านบาท จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.56 หากไม่ยอมตกลงตามเงื่อนไข ขอให้ ปตท.ย้ายออกไปจากที่ดังกล่าว พร้อมกับปฏิเสธข้ออ้างของ ปตท.ที่ระบุว่าการทำสัญญาขอใช้ที่ดินในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2526 ในนามของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นข้อตกลงการขายซื้อขายขาด เนื่องจากตามกฎหมายที่ดินของ รฟท.ไม่สามารถซื้อขายได้ “อัตราค่าเช่าต่อสัญญาอีก 30 ปี 1,792 ล้านบาทนั้น ทาง รฟท.ไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องยอมรับเพราะเป็นราคาที่จ้างที่ปรึกษาเข้ามาประเมินแล้ว แต่ ปตท.จะขอจ่ายแค่ 800 ล้านบาท ซึ่งผมยอมรับไม่ได้ เพราะราคาที่คิดนั้นตกปีละ 59 ล้านบาท หรือเดือนละ 4.97 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าถูกมากแล้ว และปัจจุบัน ปตท.ก็เป็นบริษัทมหาชนอีกด้วย นอกจากนี้จะมีการทวงค่าเช่าที่ค้างชำระมา 6 เดือนอีกเดือนละ 6 ล้านบาทด้วย โดยหากรฟท.ได้เงินในส่วนนี้ จะนำมาช่วยปรับปรุงสถานีใหม่ที่จะเร่งทำทั่วประเทศ” นายประภัสร์ กล่าวต่อว่า กรณี ปตท.อ้างเหตุผลในสัญญาเดิมที่กำหนดว่าจะได้สิทธิในการต่อสัญญาอีก 30 ปี โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนนั้น ในความเป็นจริงสัญญาเดิม รฟท.ผูกพันกับการปิโตรเลียแห่งประเทศไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่หลังจากนั้น ได้แปรสภาพเป็น บริษัทจำกัด(มหาชน) ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายและตัวแทนอัยการสูงสุดเป็น กรรมการ รฟท.ได้ยืนยันตรงกันว่า ผลผูกพันทางนิติกรรมได้สิ้นสุดลงแล้ว เพราะถือว่าเป็นนิติบุคคลใหม่ ดังนั้น รฟท.มีสิทธิเรียกเก็บค่าเช่าใช้ที่ดินได้ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างเหนือพื้นดินทั้งหมดจะต้องตกเป็ฌนของ รฟท.หลังสัญญาสิ้นสุดด้วย

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เล็งพลิกโฉมสถานีรถไฟทั่วประเทศ

Posts related

 














นกแอร์บินต่างประเทศ พาทีย้ำเหตุเครื่องไถลไม่กระทบเชื่อมั่น


บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินนกแอร์ เปิดตัวเส้นทางการบินต่างประเทศเส้นทางแรก ในเที่ยวบินดอนเมือง-ย่างกุ้ง ประเทศพม่า ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ที่รองรับผู้โดยสารได้ถึง 189 ที่นั่ง โดยบริการสัปดาห์ละ 4 เที่ยวบิน ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์และอาทิตย์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินแรก ในวันที่ 1พ.ย. นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ในงานเปิดเส้นทางการบินดังกล่าว ยังมี นายอู ติ่นวิน เอกอัครราชฑูตสหภาพเมียนมาร์ประจำประเทศไทยให้เกียรติมาร่วมงานอีกด้วย

วัตถุประสงค์การเปิดเส้นทางการบินต่างประเทศ นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ กล่าวว่า "การเริ่มเปิดเส้นทางใหม่ในต่างประเทศ เราเลือกที่จะบินไปพม่า เพราะมองว่าพม่าไม่ได้เป็นเพียงเพื่อนบ้าน แต่เป็นเพื่อนจริงๆ และเป็นประเทศอาเซียนด้วยกัน ดังนั้นจึงควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พม่าจึงเป็นจุดสนใจแรกที่จะนำพาผู้โดยสารไปเยือน”

ส่วนกรณีเครื่องบินนกแอร์ไถลรันเวย์ที่สนามบินอุดรธานี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 6 ต.ค ที่ผ่านมานั้น นายพาที เปิดเผยกับเดลินิวส์ออนไลน์ว่า "เหตุการณ์เครื่องบินไถลรันเวย์ เป็นอุบัติเหตุที่ยังอยู่ในขั้นที่รับได้  ผมคิดว่าเมื่อไม่ได้เกิดขึ้นบนอากาศ แต่เป็นอุบัติเหตุการแท็กซี่และไถล ผมคิดว่ายังรับได้อยู่ โดยเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลงแต่อย่างใด เพราะจำนวนผู้ใช้บริการนกแอร์นั้นก็ไม่ได้ลดลง และนกแอร์ก็ยังคงมั่นใจในศักยภาพของสายการบิน และจะเดินหน้าให้บริการที่ดีต่อไป".

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นกแอร์บินต่างประเทศ พาทีย้ำเหตุเครื่องไถลไม่กระทบเชื่อมั่น

เอกชนหวั่นนโยบายรัฐไม่ต่อเนื่องฉุดความเชื่อมั่น

เอกชนจี้รัฐบาลเดินหน้านโยบายให้ต่อเนื่องโดยเฉพาะพรบ. 3.5 แสนล้านบาทก่อนหมดความมั่นใจ

เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ำทำเนียบรัฐบาล นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจการลงทุนของภาคเอกชนทั้งเรื่องของน้ำท่วม รวมถึงการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งภาคเอกชนต้องการเห็นความต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาลเป็นหลักซึ่งถือเป็นตัวแปรของการทำธุรกิจที่สำคัญ หากนโยบายของรัฐบาลไม่มีความต่อเนื่องจะทำให้เกิดความเสียหายและไม่สามารถทำการค้าต่อไปได้ ที่สำคัญยังทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศถดถอย “ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลไทยไม่มีความต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ภาคธุรกิจมาก ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วโดยเฉพาะในเรื่องของโลกธุรกิจ หากต้องเสียเวลาเพียงไม่กี่วันไม่ถึงครึ่งเดือนก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ของภาคธุรกิจแล้ว” นอกจากนี้ในเรื่องของการลงทุนบริหารจัดการน้ำวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะถือว่าเป็นสิ่งที่พยายามเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนแม้ว่าจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นคืนมาได้จากการเกิดมหาอุทกภัยเมื่อปี 54 แต่ปรากฎว่าจนถึงขณะนี้กลับยังไม่มีความคืบหน้า ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องพยายามบริหารจัดการและเดินหน้าให้เกิดขึ้นให้ได้ก่อนนักลงทุนจะขาดความมั่นใจ
ขณะเดียวกันรัฐบาลจำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงของประเทศหรือแบรนด์ของประเทศให้ได้ อย่าให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นไม่ว่าจะมีสาเหตุจากเรื่องใดก็ตามเพราะหากเป็นเช่นนั้นจะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศ เช่นกรณีของจีน ที่ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในเรื่องของอาหาร มาเป็นเวลานานเพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถดึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ อย่างไรก็ตามในแง่ของภาคเอกชนได้พยายามทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยพยายามนำข้อเสนอแนะต่างๆรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในเชิงนโยบายมาหารือร่วมกับรัฐบาลเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง โดยยอมรับว่าสิ่งที่เป็นห่วงมากที่สุดคือเรื่องของความต่อเนื่องของนโยบายของรัฐบาล.
 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนหวั่นนโยบายรัฐไม่ต่อเนื่องฉุดความเชื่อมั่น

Page 1545 of 1552:« First« 1542 1543 1544 1545 1546 1547 1548 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file