shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

คุมร้านเหล้าปั่นริมสถานศึกษา

นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ทหาร ลงพื้นที่ตรวจร้านขายสุราทั่วประเทศ ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ตรวจสอบบรรดารถเข็น หรือร้านสุรา โดยเฉพาะเหล้าปั่นที่อยู่บริเวณรอบโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นการมอมเมาเยาวชนและผิดกฎหมาย ซึ่งยืนยันว่าหากเจ้าหน้าที่พบว่าร้านค้าที่ขายเหล้าปั่นไม่มีใบอนุญาต อาจได้รับโทษสูงสุดคือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตคืนทันทีทั้งนี้ ยืนยันว่า ผู้ประกอบการที่เปิดร้านขายสุรา หากดำเนินการขายเหล้าปั่นจะต้องมีใบอนุญาตตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะหากผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราทำการขายสุราไม่ตรงตามประเภทใบอนุญาต ที่เจ้าพนักงานออกให้ หรือผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราซื้อสุราจากผู้ไม่มีสิทธิขายได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็จะมีความผิด ทำให้กรมฯ ต้องตรวจสอบว่าสุราที่นำมาผสมเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากการขายเหล้าปั่นมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เพราะหากผู้ประกอบการนำสุราเถื่อนมาใช้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของประชาชนได้ ซึ่งต้องควบคุมไม่ให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น“ตามกฎหมายของ พ.ร.บ.สุรา ระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการที่ขายเหล้าปั่น ต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพสามิต และต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด หากพบว่าร้านค้าดังกล่าวไม่มีใบอนุญาต เจ้าหน้าที่สามารถปรับ และแจ้งเตือนกับผู้ประกอบการ แต่ถ้ายังกระทำผิดอีกจะถูกพักการใช้ใบอนุญาต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตคืนทันที” 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุมร้านเหล้าปั่นริมสถานศึกษา

Posts related

 














เอกชนแนะรัฐเร่งเบิกจ่ายกู้ศก.

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในปี 58 เป็นปีที่ภาคเอกชนต้องเร่งปรับตัว เพื่อรับมือปัจจัยลบที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะภาคส่งออก เพราะฉะนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อน โดยต้องการให้เร่งอัดงบลงทุนขอภาครัฐโดยเร็ว และบริหารจัดการอย่างโปร่งใส  การเปิดตลาดส่งออกใหม่ การผลักดันการค้าชายแดน หากต้องการให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีหน้าโตประมาณ 4-4.5% “การส่งออกปีหน้าทางสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือเองก็มองไว้ว่าจะโตประมาณ 2.5% ถ้าส่งออกโตระดับนี้ก็ยากที่จีดีพี จะโตได้ระดับ 4% เพราะส่งออกคิดเป็น 60% กว่าๆ ในจีดีพีแล้ว แต่หากรัฐเร่งผลักดันองค์ประกอบอื่นๆ เราก็คาดหวังว่า จะดีขึ้น โดยสิ่งที่รัฐต้องเร่งดำเนินการ คือการอัดงบประมาณที่เป็นไปตามมาตรการที่วางไว้ให้เกิดการปฏิบัติอย่างรวดเร็วและโปร่งใส ซึ่งต้องยอมรับว่า การอัดฉีดงบประมาณที่วางไว้ไตรมาสสุดท้ายปีนี้รวมกว่า 3.6 แสนล้านบาทนั้น คาดว่าจะเบิกจ่ายจริงไม่เกิน 1 แสนล้านบาท เพราะการจัดซื้อจัดจ้างใช้เวลา ซึ่งเมื่อรัฐมีการเบิกจ่ายจุดนี้ได้ก็จะทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นไปด้วย” สำหรับตลาดการส่งออกใหม่ ที่น่าสนใจ คือ รัสเซีย  เพราะขณะนี้ไทยส่งออกไปประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้โอกาสยังมีอีกมาก รวมทั้งตลาดบราซิล เปรู ชิลี ซึ่งต้องรวมถึงการเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เนื่องจากตลาดหลัก ทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน หรือแม้แต่ญี่ปุ่นเอง  สถานการณ์แต่ละประเทศยังไม่ดีนัก และต้องติดตามสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางต่อไป ขณะเดียวกันยังต้องผลักดันตลาดสินค้าชายแดนด้วย   

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอกชนแนะรัฐเร่งเบิกจ่ายกู้ศก.

รัฐคลำทางขายข้าว18ล้านตัน ปัญหาใหญ่คนไทยแบกหนี้อ่วม

หนี้โครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนสูง 6-7 แสนล้านบาท สุดท้ายแล้วต้องตกเป็นเงินภาษีของทุกคนในประเทศ การใช้หนี้ขาดทุนจำนำข้าว มีทางแก้ทางเดียวคือต้องใช้หนี้ และคาดว่าอาจใช้เวลามากกว่า 30 ปี หรือต้องใช้หนี้จำนำข้าวกันถึงรุ่นหลาน เป็นคำให้สัมภาษณ์ของขุนคลัง “สมหมาย ภาษี” เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศคงต้องหันมาหยุดคิด …ว่า นโยบายประชานิยมที่บรรดานักการเมืองสร้างสรรค์กันออกมาเพื่อแลกกับคะแนนเสียงนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ถูกต้องหรือไม่…เพราะสุดท้ายคนไทยทั้งประเทศต้องมานั่งแบกรับภาระหนี้เป็นการตอบแทน แทนที่จะนำเงินมาลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศซึ่งทุกคนย่อมได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ข้าวค้างสต๊อก 18 ล้านตัน ณ วันนี้ ผลงานที่นักการเมืองรังสรรค์ปั้นแต่งไว้ ได้โผล่ “ความเน่า” ออกมาให้เห็นแล้ว ข้าวสารที่รับซื้อมาตันละ 15,000 บาทนั้น ได้กองอยู่ในสต๊อกของรัฐบาล 18 ล้านตัน ที่น่าอึ้ง…คือ ในจำนวนนี้เป็นข้าวที่คุณภาพดีเพียง 10% เศษ เท่านั้น อีก 70% เป็นข้าวคุณภาพต่ำ มีสีเหลืองเพราะเก็บไว้นาน ส่วนที่เหลือเป็นข้าวที่เสื่อมคุณภาพ คนไม่สามารถกินได้ ต้องนำไปขายเพื่อผลิตเป็นเอทานอล และสุดท้ายเป็นข้าวที่หายไป มีจำนวนเบื้องต้นประมาณ 1 แสนตัน แม้ว่าเวลานี้…ผลที่เกิดขึ้นยังไม่มีอะไรแน่ชัดว่าจะดำเนินการความผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร โดยเฉพาะ “ผู้นำ” อย่าง “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ที่นัดถกวันที่ 12 พ.ย. “นายพล” รับเผือกร้อน เผือกร้อนชิ้นนี้กลายเป็นภาระหนักอึ้งของรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” ที่ต้องหาทางดับร้อนให้ดีที่สุด เชื่อได้ว่าใครต่อใครคงรอดูฝีมือของเหล่า “ครม.นายพล”ทั้งหลายว่าจะรับมืออย่างไร โดยเฉพาะการบริหารหนี้ก้อนโต 6-7 แสนล้านบาท รวมไปถึงการระบายหรือขายข้าวที่ค้างเติ่งในโกดัง 18 ล้านตัน ที่มีคำถามจากผู้เสียภาษีมากมายว่าจะทำอย่างไร ทำไมก่อนหน้านี้ไม่เร่งระบายให้หมด เพราะอีกไม่กี่วันนี้…ข้าวนาปีฤดูใหม่ 57/58 จะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 27 ล้านตัน ที่สำคัญหากใช้วิธีทยอยขาย กว่าจะหมดก็เชื่อได้แน่ว่าความเสียหายจะบังเกิดขึ้นมากกว่า 6 แสนล้านบาท อาจเฉียดไปถึงล้านล้านบาทก็ได้เพราะยิ่งปล่อยไว้ข้าวยิ่งเสื่อมคุณภาพ ตามที่สถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาไว้ ขณะที่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน พ่อค้าข้าว ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าวในสต๊อกที่เหลือส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว ส่วนข้าวหอมมะลิ ได้ระบายไปเกือบหมด หรือหากจะเหลือคงมีปริมาณน้อยแล้ว ขายได้ปีละ 3 ล้านตัน ดังนั้นการระบายข้าวขาวซึ่งเป็นข้าวเก่าอย่างเก่งก็คงระบายได้ปีละไม่เกิน 3 ล้านตัน ส่วนใหญ่จะขายในตลาดแอฟริกาปีละ 2 ล้านตัน และระบายในประเทศ 5-6 แสนตัน ยังมีผู้บริโภคที่ยังต้องการข้าวเก่าอยู่ ขณะที่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น หรือแม้แต่จีน ยังต้องการข้าวใหม่มากกว่า ซึ่งการจะเร่ขายข้าวเก่าค้างเติ่งทั้ง 18 ล้านตัน หรือระบายให้หมดภายในปีเดียวจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะ… ประการแรก…ความต้องการข้าวเก่าในตลาดมีจำกัด เนื่องจากในแต่ละปีจะมีข้าวใหม่ของแต่ละประเทศออกมาเพิ่มต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าการค้าข้าวในตลาดโลกอยู่ที่ 40 ล้านตันข้าวสารต่อปี ส่วนใหญ่ต้องการข้าวใหม่ และที่สำคัญผลผลิตข้าวนาปี 57/58 ของทั่วโลก ไม่ลดน้อยลงแม้ว่าบางช่วงจะเกิดปัญหาภัยธรรมชาติก็ตาม ประการที่ 2 ไทยคงไม่สามารถแย่งตลาดข้าวประเทศอื่นได้ เพราะหากขายในราคาถูก ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม อินเดีย พร้อมดั๊มพ์ราคาสู้เพื่อรักษาตลาดไว้เช่นกัน ประการที่ 3 ประเทศคู่ค้าคงไม่สามารถซื้อข้าวเก่าได้ในปริมาณมาก ๆ เพราะเสี่ยงต่อคุณภาพเสื่อมและเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ประการที่ 4 ถ้าระบายมากจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในตลาดโลกจนเกษตรกรทั่วโลกต้องดั๊มพ์ราคามาสู้กัน และ สุดท้าย หากตลาดโลกต้องการข้าวมากขึ้นอาจมีปัญหาเรื่องขาดแคลนตู้คอนเทเนอร์และเรือบรรทุกสินค้า ที่ก่อนหน้านี้ไทยนำเข้าลดลง ทำให้เรือสินค้าไม่ต้องการวิ่งเรือเปล่าเข้ามาในไทย เพราะไม่คุ้มต้นทุนส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกต้องแย่งตู้ฯและเรือบรรทุกสินค้าต้องใช้เวลา 3-5 ปี ดังนั้น…ความน่าจะเป็นไปได้ที่รัฐบาลและเอกชนร่วมกันระบายข้าวในสต๊อกให้หมดคงต้องใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งแนวทางที่ระบายได้ดีและรวดเร็วที่สุดคือ การเจรจาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) แต่ในส่วนของบาร์เตอร์เทรด หรือโครงการแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น ข้าวกับรถไฟฟ้าของจีน คงทำได้ยาก สุดท้าย! ใครต้องการซื้อสินค้าใดก็ซื้อไปโดยไม่ต้องมาแลก นอกจากนี้ยังมีแนวทางการร่วมมือกับเอกชน ที่ให้เอกชนออกไปร่วมประมูลข้าวใหม่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นช่องทางช่วยไม่ให้ราคาข้าวใหม่ตกต่ำ โดยรัฐจะชดเชยผู้ส่งออกที่ขาดทุนจากการดั๊มพ์ราคาแข่งขันกับเวียดนามด้วยการจ่ายเป็นข้าวสารเก่าในสต๊อกเป็นการชดเชย ซึ่งกรณีนี้ได้ดำเนินการมาแล้วในการเข้าร่วมประมูลขายข้าวแก่ฟิลิปปินส์ 3 แสนตัน โดยครั้งนั้นเอกชนขาดทุนตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 ล้านบาท เพราะต้องขนข้าวไปถึงหน้าโกดังตามหมู่เกาะของฟิลิปปินส์ และรัฐบาลชดเชยส่วนต่างราคาข้าวให้เอกชนด้วยการจ่ายชดเชยเป็นข้าวสารให้ประมาณ 8,500 ตัน ไทยครองแชมป์ขายข้าว หากมองในภาพรวมของตลาดข้าวแล้ว ต้องยอมรับว่าเวลานี้ราคาข้าวของไทยเป็นไปตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถขายข้าวได้ เพราะแพงกว่าคู่แข่งตันละไม่ต่ำกว่า 100-150 ดอลลาร์สหรัฐ จนถูกอินเดียและเวียดนามแย่งตลาดและแซงไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวอยู่เบอร์ 1 และ 2 ของโลกไปครอง แต่เมื่อไทยมีปัญหาเรื่องของสต๊อกข้าวที่มากเกินไป และต้องเร่งระบาย ส่งผลให้ราคาข้าวไทยกับเวียดนามคู่แข่งตลอดกาลกลับมาอยู่ในราคาที่ใกล้เคียงกันหรือในบางช่วงบางเวลาราคาผลัดกันสูงกว่า ในที่สุดไทยสามารถยึดตลาดในหลาย ๆ ตลาดกลับคืนมาได้ จนกลายเป็นผู้ส่งออกเบอร์ 1 ของโลกในทันที ซึ่งล่าสุดในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย. 57) ไทยส่งออกได้มากถึง 8.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 70 % และคาดว่าทั้งปีจะส่งออกได้ 10.5-11 ล้านตัน แม้ไทยจะโชคดีที่กลับมาครองแชมป์ แต่ปัญหาลักลอบค้าข้าวผ่านชายแดนจีนกลับเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ประมาณ 1.5 ล้านตัน เป็น 3 ล้านตันในปีนี้ หากจีนเริ่มเข้มงวดกับปัญหานี้ เชื่อว่าเวียดนามคงต้องใช้วิธีการดั๊มพ์ราคาข้าวลงอีกเพื่อแย่งตลาดกับข้าวไทย แม้ไทยได้กลับมาครองแชมป์ส่งออกอีกครั้ง แต่ปริมาณข้าวที่มากมายมหาศาลถึง 18 ล้านตัน ได้กลายเป็นเผือกร้อนชิ้นใหญ่ที่ไม่ว่าจะอย่างไรรัฐบาล “ประยุทธ์ 1” คงไม่สามารถระบายได้หมดตามอายุของรัฐบาลแน่นอน!. มนัส แวววันจิตร

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รัฐคลำทางขายข้าว18ล้านตัน ปัญหาใหญ่คนไทยแบกหนี้อ่วม

Page 5 of 1552:« First« 2 3 4 5 6 7 8 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file