shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

‘ซีเอสอาร์’ ในชาติเออีซี – เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย

“ซีเอสอาร์”เป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย และได้ยินกันบ่อยครั้ง เพราะกลายเป็นกิจกรรมสร้างภาพลักษณ์ทางสังคม ของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ตามหน้าสื่อทุกแขนง เชื่อว่า…คงมีไม่กี่คนที่จะรู้ว่า ซีเอสอาร์ที่แท้จริง เป็นมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์บริษัท หรือเพียงแค่การนำเงินไปบริจาคเท่านั้น แต่ซีเอสอาร์ ยังมีความสำคัญอย่างมากในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) รวมไปถึงการทำธุรกิจในเวทีโลก เพราะถ้าบริษัทใดไม่มีเรื่องของซีเอสอาร์เข้ามาเกี่ยวข้องอาจถูกปิดประตูทางการค้าทันทีก็เป็นได้ ในทางกลับกันหากบริษัทใด มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนถูกต้อง ประตูการค้าจะเปิดอ้ารับทันที.. เช่นกัน “ทุกวันนี้หลายคนยังเข้าใจความหมายของซีเอสอาร์ ผิด คิดเพียงว่า แค่นำเงิน หรือบริจาคสิ่งของอย่างเดียว ก็ถือเป็นซีเอสอาร์แล้ว ซึ่งการกระทำนี้ เป็นแค่หลังกระบวนการเท่านั้น เลยทำให้มองเป็นภาระค่าใช้จ่าย แต่ซีเอสอาร์ ที่แท้จริงแล้ว ต้องมีการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม พนักงาน ลูกค้า ให้เกิดตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ และผู้นำก็ควรสร้างดีเอ็นเอให้พนักงานทุกคน มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ถูกต้อง ก็จะช่วยลดต้นทุน และทำให้ธุรกิจโตได้อย่างยั่งยืน”…รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ประธานซีเอสอาร์ พอเพียง และผู้อำนวยการ หลักสูตร ซีอีโอ เอ็มบีเอ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กล่าวไว้ในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางช่องเดลินิวส์ ทีวี เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา “รศ.ทองทิพภา” อธิบายให้ฟังว่า ปัจจุบันจะมีเพียงธุรกิจใหญ่ ๆ เท่านั้นที่ทำซีเอสอาร์อย่างจริงจัง ขณะที่รายเล็กรายย่อย ยังไม่เข้าใจซีเอสอาร์อย่างแท้จริง คิดเพียงแค่การบริจาคสิ่งของ หรือเงิน และยังเป็นหน้าที่ของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วไม่ใช่ การทำลักษณะนั้น เป็นแค่หลังกระบวนการดำเนินธุรกิจ หรือถ้าธุรกิจขนาดใหญ่ รายใด บริจาคเงินแต่ไม่พัฒนาองค์กรของตัวเอง ไม่ดูแลพนักงานให้ดี ถือได้ว่าเป็นการทำซีเอสอาร์เทียม เท่านั้น สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี การทำซีเอสอาร์ถือว่าไม่ยากเลย แม้เป็นเพียงร้านขายก๋วยเตี๋ยวก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแค่นำผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพมาให้บริการลูกค้า ดูแลลูกจ้างในร้านให้ดี มีสวัสดิการที่เหมาะสม แยกทิ้งของเสีย ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม เพียงแค่นี้ถือว่าทำซีเอสอาร์แล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่หลายคนอาจไม่รู้ และการทำซีเอสอาร์นี้ยังทำให้ธุรกิจแข็งแกร่ง เพราะเมื่อคุณภาพสินค้าดี ลูกค้าจะชื่นชอบ และถ้าดูแลลูกจ้างดี ลูกจ้างจะมีความสุขและมีแรงทำงานอย่างมีความสุขเช่นกัน ในแง่ของ “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” มีหน้าที่วิเคราะห์เจาะลึกข้อมูล การทำซีเอสอาร์ของแต่ละบริษัท โดยแบ่งเป็นลำดับขั้นที่ชัดเจนว่า บริษัทดำเนินการซีเอสอาร์ถูกต้องหรือไม่เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และสังคม สิ่งแวดล้อมบทบาทของซีเอสอาร์ ในเวทีการค้าโลก หรือแม้กระทั่งการเปิดเออีซี ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะต่อไปหากเปิดเออีซีแล้ว จะยกเลิกภาษีเป็น 0 % เกือบทั้งหมด ไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้า เพราะฉะนั้นมาตรการการกีดกันต่อไปไม่ใช่กฎหมายแล้ว จะนำเรื่องซีเอสอาร์ เข้ามากีดกันทางการค้าแทน เช่น กีดกันบริษัท ที่กดขี่แรงงาน หรือไม่ประหยัดทรัพยากร ไม่ได้ ที่สำคัญเวลานี้สหรัฐอเมริกา ได้นำมาตรฐานไอเอสโอ 2006 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านซีเอสอาร์มาใช้แล้ว โดยบางบริษัท จะตรวจสอบก่อนเลยว่า บริษัทคู่ค้ามีการทำซีเอสอาร์หรือไม่ ถ้าไม่มีจะไม่ดำเนินธุรกิจด้วย หรือในประเทศแถบยุโรป จะดำเนินธุรกิจ กับบริษัทข้ามชาติที่ทำซีเอสอาร์เท่านั้น เช่น กรณีของห้างหรู “แฮร์รอดส์” ได้เลือกซื้อสินค้ากระดาษสาของไทยจากเอสเอ็มอีรายหนึ่ง ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีบ่อบำบัดน้ำเสียที่ถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งที่เป็นร้านเล็ก ๆ เท่านั้น หรือกรณีของการนำเอสเอ็มอีไปเจรจาจับคู่ทางธุรกิจหรือบิสสิเนส แมชชิ่ง ที่พม่า โดยก่อนวันเจรจาธุรกิจ ได้นำเอสเอ็มอีไปทำความรู้จักพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวพม่าก่อน เพราะเป็นเอสเอ็มอีที่มีงบประมาณไม่มากนัก จึงอาศัยความรู้ที่มีช่วยฝึกสอนนวดหน้า นวดตัว ทำแชมพู ให้กับชาวพม่า เพื่อเป็นการผูกมิตร ขณะที่ชาวพม่าเอง ได้สอนวิธีการทำแป้งทานาคาให้ ปรากฏว่าในวันเจรจาธุรกิจวันรุ่งขึ้นกลับกลายมาจับคู่กัน เลยสามารถปิดการขายระหว่างกันได้จำนวนมากและในปัจจุบันยังทำธุรกิจร่วมกันเป็นอย่างดี จนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งให้งบประมาณโครงการ ระบุในการจับคู่ทางธุรกิจของเอสเอ็มอี ให้นำซีเอสอาร์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไปใช้เป็นโมเดลในการเจรจาทุกครั้งด้วย เพราะเอกลักษณ์ของคนไทยที่เปี่ยมไปด้วยน้ำใจ ถือเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจสะดวก รศ.ทองทิพภา บอกด้วยว่า เวลานี้ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวในเรื่องของซีเอสอาร์กันมาก ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำลังจัดทำร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม หรือซีเอสอาร์ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คาดว่า จะประกาศใช้ได้ปีหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างวัฒนธรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งถ้าไทยไม่ทำ ก็จะตกขบวนการเพิ่มการแข่งขันทางการค้าได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การทำ “ซีเอสอาร์” ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวแทบทั้งนั้น หากนำมาปฏิบัติให้ถูกต้อง เชื่อว่าจะสามารถเป็นแรงดันให้การดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป. จิตวดี เพ็งมาก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ซีเอสอาร์’ ในชาติเออีซี – เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย

Posts related

 














อินโดฯ เทรด เอ็กซ์โป – ลูกเล่น/ลีลา

ขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซียกำลังมาลงทุนในไทย ในส่วนของรัฐบาลเองโดยกระทรวงการค้าก็จัดงานเทรด เอ็กซ์โป อินโดนีเซียครั้งที่ 28 เพื่อนำเสนอสินค้าส่งออกให้ประเทศคู่ค้าได้มีโอกาสมาเลือกสรรและเจรจาธุรกิจ ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ประเทศคู่ค้าที่มีการติดต่อค้าขายส่งออกกับอินโดนีเซียมากที่สุด ใครจะคิดว่าเป็นไนจีเรีย ก่อนจะตามมาด้วยเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ ฯลฯ สินค้าที่อยู่อันดับหนึ่งในตลาดโลกของอินโดนีเซียก็คือ เครื่องเรือนที่ทำจากไม้ไผ่และหวาย โดยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกถึงร้อยละ 54.26 ขณะที่มาร์การีนซึ่งอยู่อันดับหนึ่งในตลาดโลกแม้จะแชร์ส่วนแบ่งได้เพียงร้อยละ 13.09 แต่มูลค่าการส่งออกมากกว่า แต่ยางพาราที่ติดอันดับผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลกกลับเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้าประเทศมากที่สุด ทั้งที่แชร์ส่วนแบ่งการตลาดเพียงร้อยละ 30.47 สำหรับในปี ค.ศ. 2013 นี้รัฐบาลอินโดนีเซียยังคงนำเสนอสินค้าแถวหน้าไม่ว่าจะเป็นปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปาล์มดิบ เมล็ดกาแฟและโกโก้ อาหารทะเลแช่แข็ง ยางพารา และเครื่องเทศ ขณะที่สินค้าประเภทอุตสาหกรรมทั้งชิ้นส่วนรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า จิวเวลรี่ เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้านั้น เป็นสินค้าที่รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามที่จะผลักดันให้ขึ้นมาให้เทียบเท่าสินค้าด้านเกษตร แต่ใช่ว่าสินค้าเกษตรจะถูกทอดทิ้งเพราะรายได้ที่ด้อยกว่า รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังพยายามนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ล้ำสมัยมาช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้า เพื่อให้ก้าวขึ้นไปสู่ระดับมาตรฐานสากลมากขึ้น เพราะความที่ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ทั้งยังมีดินที่เกิดจากภูเขาไฟ ร่ำรวยไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และยังมีน้ำจากฝนให้ใช้อย่างเหลือเฟือตลอดทั้งปี หากเสริมด้วยระบบฟาร์มและการควบคุมที่สมบูรณ์เต็มรูปแบบ ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรที่มีอยู่ได้ไม่ยาก เช่นเดียวกับความพยายามที่จะพัฒนาสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น พร้อมดึงดูดผู้ซื้อด้วยโปรโมชั่นลงทะเบียนเข้าร่วมงานเทรด เอ็กซ์โปแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แถมด้วยห้องพัก 2 คืน รถรับส่งฟรีทั้งจากสนามบินและเข้าสู่สถานที่จัดงาน แม้ว่าจาการ์ตาจะมีปัญหารถติดอยู่บ้าง แต่ความพยายามอย่างเป็นระบบนี้ก็ทำให้อินโดนีเซียตีตื้นขึ้นมาเป็นผู้นำได้ไม่ยาก.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อินโดฯ เทรด เอ็กซ์โป – ลูกเล่น/ลีลา

‘ไลอ้อน แอร์’ เลือกไทย เป็นฮับ 1 ใน 3 ของอาเซียน

“ขณะนี้เครื่องลำแรกของเราได้เดินทางจากซีแอทเติล ผ่านโฮโนลูลู เซบูของฟิลิปปินส์ ต่อมาที่มาเลเซีย และมายังประเทศไทย ขณะที่เครื่องลำที่ 2 กำลังจะตามมาในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบระบบต่าง ๆ เพื่อส่งมอบ โดยสายการบินของเราเป็นสายการบินแรกที่จะได้เครื่องโบอิ้ง 737-900 อีอาร์เอสมาให้บริการ” กัปตันวรวุฒิ วงศ์โกสิตกุล ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบินไทย ไลอ้อน แอร์ ระบุ เครื่องบินโบอิ้ง 737-900 อีอาร์เอสเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของค่ายโบอิ้งที่มีการขยายส่วนลำตัวให้มีความกว้างมากขึ้น และด้วยช่วงที่ยาวกว่าจึงทำให้สายการบินโลว์คอสต์สัญชาติอินโดนีเซีย-ไทย มีข้อได้เปรียบสายการบินโลว์คอสต์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในไทย ด้วยการบรรทุกผู้โดยสารได้สูงที่สุดถึงครั้งละ 215 ที่นั่ง และที่สำคัญเครื่องรุ่นนี้ยังสามารถให้บริการได้ไกลกว่า จึงอาจจะสามารถเปิดเส้นทางบินไปถึงจีน เกาหลีใต้ หรือญี่ปุ่นได้ด้วยในอนาคต สายการบินไทย ไลอ้อน แอร์ เป็นส่วนหนึ่งของไลอ้อน กรุ๊ป ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายอีก 4 สายการบิน ได้แก่ ไลอ้อน แอร์ สายการบินราคาประหยัดของอินโดนีเซีย, วิงส์ แอร์ สายการบินที่เน้นเชื่อมโยงเส้นทางระยะใกล้กว่า, บาติก แอร์ สายการบินราคาปกติที่ให้บริการเต็มรูปแบบ และมาลินโด แอร์ สายการบินพันธมิตรที่มีฐานอยู่ในมาเลเซีย โดยถือครองสัดส่วนการให้บริการผู้โดยสารมากกว่าร้อยละ 50 ของตลาดการบินภายในอินโดนีเซีย ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการประกาศจัดตั้งเป็นหุ้นส่วนร่วมทุนระหว่างไลอ้อน แอร์ กับ ภูเก็ต แอร์ บริษัทการบินของไทย โดยเป็นพันธมิตรบริหารสายการบินโลว์คอสต์ที่มีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองภายใต้ชื่อ “ไทย ไลอ้อน แอร์” ด้วยความที่ภูมิประเทศของอินโดนีเซียที่เป็นเกาะการเดินทางเชื่อมโยงหากันด้วยเครื่องบินจึงเป็นหนทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด และแม้จะแชร์ส่วนแบ่งในตลาดมากกว่าสายการบินแห่งชาติอย่างการูด้า อินโดนีเซีย แอร์ไลน์ แต่นั่นก็ยังไม่ทำให้ไลอ้อน กรุ๊ปที่กำลังจะมีเครื่องบินในครอบครองถึง 708 ลำ ซึ่งอยู่ระหว่างทยอยส่งมอบสยายปีกได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยที่ดูเหมือนจะเป็นฮับทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 “เรามองว่าโอกาสการเติบโตของตลาดต่างประเทศยังมีอีกมาก จึงเริ่มรุกด้วยการเพิ่มศูนย์กลางทางการบินนอกเหนือจากจาการ์ตา และกัวลาลัมเปอร์และกรุงเทพฯ เป็นสองแห่งที่ถือว่ามีศักยภาพมาก ในส่วนของมาลินโด แอร์นั้นปัจจุบันให้บริการไปยัง 12 จุดหมายในมาเลเซีย และเส้นทางระหว่างประเทศอีก 3 แห่ง ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้นจะเริ่มต้นด้วย 3 เส้นทางก่อนจะค่อย ๆ ขยายเส้นทางบินเพิ่มตามแผนที่วางไว้ ซึ่งเชื่อว่าไทย ไลอ้อน แอร์จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนไว้ด้วยกัน พร้อมทั้งสร้างความแข็งแกร่งให้กับไลอ้อน กรุ๊ปด้วย” มร.รัสดี คีรานา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไลอ้อน กรุ๊ป ระบุ 3 เส้นทางบินแรกที่ว่า ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-จาการ์ตา วันละ 2 เที่ยวบิน, กรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ วันละ 1 เที่ยว และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วันละ 3 เที่ยวบิน โดยในช่วงแรกจะมีเครื่องบินให้บริการจำนวน 2 ลำ และจะเพิ่มเป็น 3-4 ลำในปี 2557 โดยมีแผนที่จะเปิดเส้นทางบินจากกรุงเทพฯไปยังเชียงราย พิษณุโลก อุบลราชธานี กระบี่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางบินระหว่างเชียงใหม่-กระบี่, หาดใหญ่-กระบี่ และหาดใหญ่-ภูเก็ต ขณะที่เส้นทางระหว่างประเทศอย่างจีนนั้นมีแผนที่จะขยายเส้นทางไปยังเซิ่นเจิ้น ฮ่องกง กวางโจว และเซี่ยงไฮ้ และอาจเลยไปจนถึงเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีนตอนบนด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการบิน ไทย ไลอ้อน แอร์ ระบุว่า สำหรับเส้นทางบินระยะไกลนั้น ด้วยเครื่องบินรุ่นที่มีอยู่จะทำให้ไทย ไลอ้อน แอร์ขยายเส้นทางบินระยะไกลได้ไม่ยาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ได้เปรียบกว่าสายการบินต้นทุนต่ำอื่น ๆ นอกจากเครื่องบินที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการบริหารจัดการต่ำลงแล้ว การเลือกที่จะบริหารจัดการในส่วนอื่น ๆ เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริการภาคพื้นดิน หรือในส่วนของการซ่อมบำรุง ซึ่งรวมแม้กระทั่งรถขนส่งผู้โดยสารที่สั่งซื้อมาพร้อมให้บริการแล้ว จะยิ่งทำให้ไทย ไลอ้อน แอร์สามารถลดราคาค่าโดยสารแข่งกับสายการบินโลว์คอสต์อื่นได้ไม่ยาก นำพล รุ่งสว่าง ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด สายการบินไทย ไลอ้อน แอร์ ระบุว่า ราคาขายตั๋วจะตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดคงที่และถูกกว่าคู่แข่ง แม้ว่าผู้โดยสารจะมาซื้อตั๋วโดยสาร ณ วันเดินทางก็ตาม เพราะจะไม่มีการบวกค่าธรรมเนียมใด ๆ เพิ่มนอกเหนือไปจากค่าภาษีสนามบินและน้ำมันเชื้อเพลิง พร้อมทั้งยังให้ผู้โดยสารสามารถโหลดกระเป๋าได้ฟรีคนละ 15 กิโลกรัมด้วย และยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารด้วยการวางแผนเปิดจุดขายตั๋วให้เข้าถึงได้ง่ายที่สุด.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ไลอ้อน แอร์’ เลือกไทย เป็นฮับ 1 ใน 3 ของอาเซียน

Page 1486 of 1552:« First« 1483 1484 1485 1486 1487 1488 1489 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file